ชื่อไทย : แก้วเจ้าจอม
ชื่อท้องถิ่น :
ชื่อสามัญ : Lignum vitae  
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guaiacum officinale L.
ชื่อวงศ์ : ZYGOPHYLLACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมค่อนข้างหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาเข้ม กิ่งมีข้อพองเห็นเป็นปุ่มๆ ทั่วไป กิ่งค่อนข้างแบน
ใบ :
ประกอบแบบขนนก  ปลายคู่ เรียงตรงข้าม มีทั้งชนิดที่มีใบย่อย 2 คู่ และ 3 คู่ ใบรูปรีเบี้ยวเล็กน้อย รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่กลับ ใบย่อยมีขนาดไม่เท่ากัน ใบย่อยคู่ปลายกว้าง 1.8-2 เซนติเมตร ยาว 3.2-3.5 เซนติเมตร ใบย่อยคู่ที่อยู่ช่วงโคนกว้าง 1.2-1.6 เซนติเมตร ยาว 2.5-2.7 เซนติเมตร ปลายใบใน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน หลังใบสีอ่อนกว่า มีจุดสีส้มที่โคนใบย่อยด้านบน หูใบและใบประดับขนาดเล็ก ร่วงง่าย
ดอก :
สีฟ้าอมม่วงหรือสีฟ้าคราม สีจะจางลงเมื่อใกล้โรย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย มีขน ร่วงง่าย กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน สีฟ้า อับเรณูที่ปลายมีสีเหลืองออกดอกเดี่ยว แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง 3-4 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม.
ผล :
เดี่ยว รูปร่างกลมแป้นหรือรูปหัวใจกลับ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. มีครีบ 2 ข้าง เมื่อแก่เป็นสีเหลืองหรือสีส้ม ก้านผลยาว 1.5-3 ซม. เมล็ด  1-2 เมล็ด สีน้ำตาล
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : ธันวาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : เมษายน
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา

ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้และหมู่เกาะเวสต์อินดีส

การกระจายพันธุ์

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

โตช้า ไม่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ที่ระบายน้ำดี

เพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

ต้นขนาดใหญ่ แก่นไม้สีน้ำตาลหรือดำเป็นมัน เนื้อแข็งและหนักมากทนต่อแรงอัดและน้ำเค็ม ในต่างประเทศจึงนิยมนำมาใช้ทำส่วนประกอบของเรือเดินทะเลหรือเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรในโรงงานในไทย ต้นขนาดไม่ใหญ่นักจึงนิยมเพียงปลูกประดับ [1]

แหล่งอ้างอิง : [1] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ไม้ยืนต้น
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ระยะเวลาติดดอก ธันวาคม–เมษายน และสิงหาคม–ตุลาคม
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554